วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2552

Work Permit Guidance

ความหมาย
คนต่างด้าว หมายถึง บุคคลธรรมดาซึ่งมีสัญชาติไทย
ทำงาน หมายถึง การทำงานโดยใช้กำลังกายหรือความรู้ ด้วยประสงค์ค่าจ้างหรือประโยชน์อื่นใดหรือไม่ก็ตาม
คนต่างด้าวที่ยังไม่เข้ามาในราชอาณาจักร แต่ประสงค์จะทำงานต้องปฏิบัติดังนี้
1. ติดต่อสถานทูตหรือสถานกงสุลไทยประจำประเทศที่ คนต่างด้าวอยู่ เพื่อขอคำแนะนำและขอรับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว (Non-immigrant Visa) ในหนังสือเดินทาง
2. ให้นายจ้างในราชอาณาจักรยื่นขอใบอนุญาตทำงานแทนเมื่อได้รับแจ้งการอนุญาตแล้ว คนต่างด้าวจึงเดินทางเข้ามารับขอใบอนุญาตและทำงานได้
คนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรแล้วประสงค์จะทำงานต้องปฏิบัติดังนี้
1. คนต่างด้าวที่จะขออนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนหรือตามกฎหมายอื่น ต้องยื่นขอรับใบอนุญาตทำงานภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ทราบการได้รับอนุญาตให้ทำงานตามกฎหมายนั้น ๆ
ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
2. คนต่างด้าวไม่ว่าจะมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรหรืคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรประเภทคนอยู่ชั่วคราว จะทำงานได้ต่อเมื่อได้รับใบอนุญาตทำงานตามแบบที่กฎหมายกำหนด
ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกินสามเดือนหรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
3. คนต่างด้าวฝ่าฝืนทำงาน ซึ่งห้ามโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดงานในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ พ.ศ. 2522 มีโทษจำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
คนต่างด้าวที่มีใบอนุญาตทำงานแล้ว ต้องปฏิบัติดั้งนี้
1. มีใบอนุญาตติดตัวไว้หรือมีอยู่ ณ ที่ทำงานในระหว่างทำงานเพื่อแสดงต่อเจ้าหน้าที่ได้ตลอดเวลา
ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
2. ต้องทำงานที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น หากประสงค์จะทำงานอื่นหรือเปลี่ยนท้องที่หรือสถานที่ในการทำงาน ต้องได้รับอนุญาตก่อน
ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เดินสองพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
3. คนต่างด้าวที่ได้รับการขยายเวลาการทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมหรืการลงทุนหรืตามกฎหมายอื่น ต้องแจ้งภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับการขยายเวลา
ผู้ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
4. ก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุและประสงค์จะทำงานต่อ ต้องยื่นคำขอใบต่ออายุใบอนุญาตก่อนทำงานได้
ผู้ฝ่าฝืนทำงานเมื่อใบอนุญาตสิ้นอายุแล้ว มีโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
5. กรณีใบอนุญาตชำรุดหรือสูญหาย ต้องยื่นขอใบแทนใบอนุญาตภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทราบ
ผู้ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
6. กรณีเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล สัญชาติ ที่อยู่อาศัยของคนต่างด้าวหรือชื่อสถานที่ทำงาน ต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขโดยไม่ชักช้า
7. เมื่อเลิกทำงานต้องคืนใบอนุญาตภายใน 7 วัน นับแต่วันเลิกทำงาน
ผู้ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
นายจ้างที่ประสงค์จะจ้างคนต่างด้าวทำงาน ต้องปฏิบัติดังนี้
1. ห้ามรับคนต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตทำงาน หรือรับคนต่างด้าวเข้าทำงานที่มีลักษณะงานหรือเงื่อนไขต่างไปจากที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต
ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
2. นายจ้างที่รับคนต่างด้าวเข้าทำงานหรือให้ย้ายไปทำงานที่อื่น หรือ ออกจากงาน ต้องแจ้งภายใน 15 วัน นับแต่วันที่เข้าทำงาน หรือย้าย หรือออกจากงาน
ผู้ฝ่าฝืนมีโทษมีโทษไม่เกินหนึ่งพันบาท
สิทธิการอุทธรณ์
กรณีที่ยื่นขอใบอนุญาตทำงานและไม่ได้รับอนุญาต หรือไม่ได้รับการต่ออายุใบอนุญาต หรือไม่อนุญาตให้ทำงานอื่น หรือไม่ให้เปลี่ยนท้องที่ หรือสถานที่ทำงาน
ผู้ขอมีสิทธิอุทธรณ์ โดยทำเป็นหนังสือยื่นต่ออธิบดีกรมแรงงาน ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ทราบคำสั่งไม่อนุญาต
สถานที่ติดต่อ
1. กรุงเทพฯ ณ กองงานคนต่างด้าว อาคารพงษ์สุภี ถนนวิภาวดี รังสิต เขตจตุจักร กรุงเทพฯ โทรศัพท์ (02) 6176576-9
2. สำนักงานจัดหางานจังหวัดขอนแก่น อาคารสหกรณ์ออมทรัพย์ครูขอนแก่น ถนนหลังศูนย์ราชการ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น หรือ สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด
3. สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด ในท้องที่ที่คนต่างด้าวทำงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Who stop the rain.