วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2552

VISA หรือการตรวจลงตรา

VISA หรือการตรวจลงตรา คือการอนุญาตให้คนต่างด้าวเข้ามาในประเทศได้ เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ กัน
คนต่างด้าวต้องขอรับการตรวจลงตรา จากสถานทูตหรือสถานกงสุลไทยในต่างประเทศ ก่อนเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร หรือขอรับการตรวจลงตราจากกระทรวงการต่างประเทศ หรือสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง(Visa on arrival) ยกเว้นคนต่างด้าวบางประเภท เป็นประเทศที่ได้รับการผ่อนผัน เช่น ผ.30 ผผ.90 สามรถเดินทางเข้ามาได้โดยไม่ต้องขอรับการตรวจลงตรา
VISA แบ่งเป็นประเภทตามวัตถุประสงค์ของการเดินทางได้ 7 ประการ คือ
1. ประเภทคนผ่าน(Transit)เพื่อการเดินทางผ่านราชอาณาจักรอนุญาตให้อยู่ได้ 30 วัน
2. ประเภทนักท่องเที่ยว(Tourist) เพื่อการท่องเที่ยว อนุญาตให้อยู่ครั้งแรก 60 วัน
3. ประเภทคนอยู่ชั่วคราว(Non-Immigrant) เพื่อวัตถุประสงค์ในการงานธุรกิจ ปฏิบัติหน้าที่ราชการ การศึกษาวิจัย หรือมาอยู่กับครอบครัว ฯลฯ อนุญาตให้ครั้งแรก 90 วัน โดยมีอักษรย่อของความมุ่งหมายต่าง ๆควรทราบดังนี้


อักษรย่อ คำเต็ม วัตถุประสงค์
D Diplomatic การปฏิบัติหน้าที่การทต หรือกงสุล
F Offical การปฏิบัติหน้าที่ทางราชการ
TR Tourist การท่องเที่ยว
S Sport การกีฬา
B Business ธุรกิจ
IM Invertment Through Ministry การลงทุนที่ได้รับการเห็นชอบจาก กระทรวง ทบวง กรมที่เกี่ยวข้อง
IB Investment Through BO การลงทุนหรือการอื่นที่เกี่ยวกับการลงทุนภายใต้บังคับ กฎหมายว่าด้วยการลงทุนเดินทางผ่านราชอาณาจักร
TS Transit เดินทางผ่านราชอาณาจักร
C Captain or Crew การเป็นผู้ที่ควบคุมพาหนะหรือคนประจำพาหนะที่เข้า มายังท่าสถานีหรือท้องที่ในราชอาณาจักร
ED Education การศึกษาหรือดูงาน
M Mass Media of Communication การปฏิบัติหน้าที่สื่อมวลชน
R Religion การเผยแพร่ศาสนาที่รับความเห็นชอบจากกระทรวง ทบวง กรมที่เกี่ยวข้อง
RS Research and Science การค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ หรือฝึกสอนในสถาบันค้น คว้า หรือสถาบันการศึกษาในราชอาณาจักร
EX Expert การปฏิบัติงานด้านช่างฝีมือหรือผู้เชี่ยวชาญ
O Others การอื่นตามที่กำหนดในข้อ 11 แห่งกฎกระทรวง มหาดไทยฉบับที่ 6 (พ.ศ.2523) ออกตามความใน พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ.2522
MT Medicaltreatment การรับการรักษาพยาบาล


4. ประเภทราชการ(Official) เพื่อปฏิบัติหน้าที่ราชการ สำหรับหนังสือเดินทาว ราชการหรือหนังสือเดินทางสหประชาชาติหรือเทียบเท่า อนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ตามความตกลงระหว่างประเทศ
5. ประเภททูต(Diplomatic) เพื่อปฏิบัติหน้าที่ทูตหรือกงสุล หรือการปฏิบัติหน้าที่ราชการสำหรับหนังสือเดินทางทูต อนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ตามความตกลงระหว่างประเทศ
6. ประเภทคนเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร(Immigrant)
7. ประเภทคนเข้าเมืองนอกกำหนดจำนวนคนต่างด้าน(Non-Quota Immigrant)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Who stop the rain.