วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2552

NON-IMMIGRANTION VISA การ ของอยู่ เมืองไทย

1.คุณสมบัติของผู้ยื่นคำขอ

1.1 ต้องถือหนังสือเดินทาง ของประเทศที่ตนถือสัญชาติอยู่ในปัจจุบัน และต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว
(NON-IMMIGRANTION VISA)
1.2 เหตุผลในการยื่นคำขอ เช่น
(1) ขอเข้ามาเพื่อการลงทุน
(2) ขอเข้ามาเพื่อทำงาน
(3) ขอเข้ามาเพื่อเหตุผลทางมนุษยธรรม แบ่งเป็น มีความสัมพันธ์กับบุคคลสัญชาติไทย หรือมีความสัมพันธ์ กับบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่แล้ว ได้แก่
- เป็นสามี-ภรรยา
- เป็นบิดา-มารดา
- เป็นบุตรอายุต่ำกว่า 20 ปี ที่ยังไม่ได้สมรถ
(4) ของเข้ามาเป็นผู้เชี่ยวชาญ

2.กำหนดวันเปิดรับคำขอ

ในแต่ละปีจะเปิดให้คนต่างด้าวยื่นคำขอจำนวน 1 ครั้ง ซึ่งโดยปกติจะเปิดรับคำขอประมาณเดือนธันวาคมของทุกปี และจะสิ้นสุดในวันทำ...ของปีนั้น สามรถสอบถามวันเปิดรับคำขอ และรายละเอียดเกี่ยวกับเอกสารประกอบคำขอได้ที่ งาน 1 กองกำกับการ 1 กองตรวจคนเข้าเมือง 1 สำนักตรวจคนเข้าเมือง (ห้อง 301 ชั้น 3) ซอยสวนพลู ถนนสาทรใต้ กรุงเทพมหานคร 10120 โทร 0-2287-3117 0-2287-3117 หริ ที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองส่วนภูมิภาค เมื่อรับคำขอแล้ว คนต่างด้าวจะต้องไปยื่นคำของด้วยตนเอง พร้อมเอกสารประกอบตามประเภทการยื่นคำขอ และให้นำหนังสือเดินทางฉบับจริงมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ด้วย

3.ขั้นตอนการดำเนินการหลังจากรับคำขอแล้ว

3.1 เจ้าหน้าที่จะประทับตราอนุญาตให้อยู่ฟังผลรอพิจารณา ครั้งแรก 180 วัน ครั้งต่อไป ครั้งละ 90 วัน จนกว่าจะทราบผลการพิจารณาจา คณะพิจารณาคยเข้าเมือง
3.2 รับใบนัดหมายให้คนต่างด้าว และผู้เกี่ยวข้องมาสัมภาษณ์ โดยมีการทดสอบความสามารถผู้ภาษาไทย และฟังภาษาไทย เข้าใจได้ (... จะต้องมาตรงตามวันที่นัดหมาย หากไม่มาตามที่นัดหมายโดยไม่มีเหตุผลอันควร จะถือว่าสละศิษย์การยื่นคำขอดังกล่าว
3.3 คนต่างด้าวที่มีอายุกว่าสิบสี่ปี (นับตั้งแต่วันที่ยื่นคำขอ) จะต้องได้รับการตรวจสอบประวัติอาชญากรรม จากพนักงานเจ้าหน้าที่ดังนี้
(1) พิมพ์ลายนิ้วมือคนต่างด้าวดังกล่าว ส่งไปตรวจประวัติที่กองทะเบียนประวัติอาชญากร เพื่อตรวจสอบว่ามีประวัติการกระทำผิดในประเทศไทยหรือ
(2) ตรวจสอบหนังสือเดินทางจากบัญชีเฝ้าดู (BLACK LIST) ว่าเป็นบุคคลต้องห้าม ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 หรือไม่
(3) ตรวจสอบว่าเป็นบุคคลที่มีหมายจับต่างประเทศ (หมายแดง) จากกองการตรวจต่างประเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือไม่

4.การพิจารณา

4.1 พิจารณาโดยคณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมือง ประกอบด้วยผู้แทนจากกระทรวงมหาดไทย, กระทรวงการต่างประเทศ, สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม, สำนักงานอัยการสูงสุด, คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน, สภาความมั่นคงแห่งชาติ, การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง โดยความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4.2 หลักเกณฑ์การพิจารณาจะคำนึงถึง รายได้ สินทรัพย์ ความรู้ ความสามารถในด้านวิชาชีพ และฐานะในครอบครัวคนต่างด้าวกับบุคคล.....สัญชาติไทย เงื่อนไขเกี่ยวกับความมั่นคงของชาติ บุคลิกภาพ สุขภาพ ความเข้าใจภาษาไทย และเงื่อนไขอื่นๆ ตามความเหมาะสมที่สอดคล้องกับสภาพสังคม และนโยบายของรัฐบาล
4.3 ระยะเวลาในการพิจารณาแต่ละปีกำหนดระยะเวลาไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับนบายของคณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมือง และกระทรวงมหาดไทย

5. ค่าธรรมเนียมต่างๆตามที่กฏหมายกำหนด

5.1 ค่าธรรมเนียมสำหรับการยื่นคำขอ คนละ 7,600 บาท (ร้อยพันหกร้อยบาทถ้วน) – จะได้รับอนุญาตหรือไม่ก็ตาม เงินค่าธรรมเนียมจะไม่ให้คืน
5.2 หากได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ ค่าธรรมเนียมใบสำคัญถิ่นที่อยู่ ฉบับละ 191,400 (หนึ่งแสนเก้าหมื่นหนึ่งพันสี่ร้อยบาทถ้วน สำหรับคนที่เป็นคู่สมรถ หรือบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ของคนต่างด้าวที่มีถิ่นที่อยู่ ในราชอาณาจักร หรือบุคคลซึ่งมีสัญชาติไทย ฉบับละ 95,700 บาท (เก้าหมื่นห้าพันเจ็ดร้อยบาทถ้วน)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Who stop the rain.