วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2552

หมกเขียดน้อย .


เว้าถึง เขียดน้อย เนาะ กะเป็นอาหารอีสานเฮาชนิดหนึ่งที่หากินได้หลายยามช่วงฤดูร้อน เขียดน้อยเป็นหนึ่งในหลายๆชนิดของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำตระกูลเขียด ตระกูลกบที่คนอีสานเฮากินเป็นอาหาร เป็นอาหารโปรตีนชั้นยอด ซึ่งสัตว์ในตระกูลนี่ที่เฮากินกะมี โตใหญ่ๆกว่าหมู่กะคือ กบ (กบเอ้บๆนี่หละ) รองลงไปกะคือเขียดโม้ หรือเขียดอีโม้ น้อยลงไปอีก กะมีเขียดจินา หรือเขียดจ่านา เขียดบักแอ๋ เขียดบักหมื่น เขียดขาคำ แล้วกะเขียดน้อย ที่เว่าถึงนี่หละ นอกจากกบเขียดที่กล่าวมาแล้วกะยังมีเขียดที่คนบ่ค่อยนิยมนำมากิน แต่ว่าบางท้องที่กะสิกินอยู่ กะมีเขียดตมปาด เขียดขิก ขี้คันคาก(อันนี่ข้าพเจ้าบ่กินเด้อ ขี้เดียด) แล้วกะยังมีสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำอีกตระกูลหนึ่งที่เฮากินกัน กะคือตระกูลอึ่งอ่าง อึ่งที่เฮากินกะมีหลายชนิด เช่น อึ่งยาง (อึ่งยางในที่นี่บ่แม่นอึ่งของปลอมเด้ บ่แม่นอึ่งพลาสติก เป็นอึ่งยางแท้ๆที่เอิ้นอึ่งยางกะเพระว่าตามผิวหนังมัน สิมียางเหนียวๆ เวลาเฮาจับกะสิติดมือเฮาเหนียวๆล้างออกกะยาก) อึ่งเพ่า อึ่งลื่ง อึ่งบักแดง เป็นต้น รอให้ฮอดยามต้มอึ่งก่อน จั่งสิมาเฮ็ดสู่กิน สำหรับการไปไต้เขียดน้อยนั้น นิยมกันไปหาไต้ยามฤดูร้อน ช่วงมีนา เมษานี่หละ แต่ว่าเวลาไปไต้ เฮากะบ่อเอาแต่เขียดน้อยดอกว้า อาจสิได้ เขียดโม้ เขียดขาคำ นำอยู่ ที่เอิ้นเขียดขาคำ กะเพราะว่าตรงโคนขาของมันสิมีสีเหลืองๆคือทองคำ กะเลยเอิ้นว่าเขียดขาคำ บ่แม่นขาเขียดเป็นทองคำ การไปใต้เขียดน้อย สมัยก่อนเฮาสิไต้ขี่กระบอง หรือบ่อกะหอบไม้ลำปอไปนำ ฮอดหม่องแล้วจั่งจุดไฟอีกที่หนึ่ง แต่ว่าสมัยนี่เฮาใช้ไฟจากแบตเตอรี่ ไปส่องไต้หาเอา การไต้เขียดน้อยนั่น ถ้ามื่อได๋อากาศฮ้อนๆเอ้าๆคัก กะสิมีเขียดออกมาหลาย โดยเฉพาะในคืนเดือนมืด การไปไต้เขียดกะสินิยมไปกันเป็นกลุ่ม ไปเป็นหมู่ บางที่ไปกันเหมิดคุ้ม แตกแซวๆ ม่วนคัก ไล่คุบเขียดไป ไล่คุบเขียดมา คุบพลาดไปถืกแก้มผู้สาว โอ้.. ไค่แหน่ บ่คุบไปถืกอั่นนั่น…(แน่ แน่ อย่าคิดลึก คุบถืกมือผู้สาว สั่นดอกว้า) พอไต้ได้ผู้ละหลายเติบแล้วกะพากันเมือบ้าน

เขียดน้อยที่เฮาไต้ได้ เฮาสิเอามาขังไว้จักคืนสาก่อน สิบ่เฮ็ดกินเลย ขังใว้ให้มันขี้ออกสาก่อน ถ้าเอามาเฮ็ดกินเลย มันสิแหย๋ เขียดน้อย เฮานิยมเอามาหมก อาจสิหมกใส่ตะไคร้ หัวหอม ผักอี่ตู่ ธรรมดากะได้ หรือ สิหมกใส่ปลีกล้วย กะแซบคือกัน หรือว่าสิเอามาเฮ็ดต้มส้มเขียดน้อยใส่ผักติ้วกะแฮ่งแซบหลาย การเฮ็ดหมกเขียดน้อยกะเฮ็ดบ่ยาก ผู้ลังคนกะสงสัยว่า เขียดน้อยไปไต้มาได้บักหลายเป็นร้อยเป็นพันโต เฮ็ดจั่งได๋จั่งค่อยสิหยิกหัวให้มันตายได้สะนะสะนาย บ่อต้องไปหยิกหัวมันดอก แค่เทเกลือลงไปใส่จักหน่อยมันกะตายเหมิดแล้ว จากนั่นกะจั่งค่อยล้างน้ำออกดีๆ เวลาเฮาเฮ็ดหมก บ่ว่าสิหมกหยังกะตาม เฮาต้องปรุงขณะที่มันยังดิบอยู่ มันซิมบ่ได้ ฉะนั้นเวลาปรุง เฮาต้องกะประมาณเครื่องปรุงแต่ละชนิดที่เติมลงไปให้พอดี มันจั่งสิแซบ เครื่องปรุงที่ใส่เฮากะต้องเอาตะไคร้ ใบบักกรูด หัวกระเทียม หัวผักบั่ว บักพริกแห้ง มาตำใส่กันให้มันแหลก เติมเกลือและน้ำตาลจักหน่อย พอตำเสร็จแล้ว กะเอามาเทใส่เขียดที่เฮาล้างใว้ดีแล้ว เด็ดต้นหอม ผักอี่ตู่ ใส่ลงไป อาจสิใส่บักพริกสดลงไปนำกะได้ จากนั้นกระเติมน้ำปลา หรือน้าปลาแดกจักหน่อย คลุกเคล้าให้เข้ากัน หลังจากนั้นกะเอาใบตองกล้วยมาห่อเฮ็ดหมก บ่ต้องเฮ็ดหมกใหญ่หลายตองสิแตก พอหมกเรียบร้อยแล้วกะเอาไปเข้ากระบวนการเฮ็ดให้สุก ซึ่งกะมีวิธี เฮ็ดให้สุกอยู่ 3-4 วิธี กะคือ วิธีที่ 1 เฮ็ดให้สุกโดยการเอาหมก ตั้งบนไฟเลย วิธีนี่กะสิเอาหมกเขียดที่เฮาเฮ็ดใว้ ตั้งเทิงถ่านไฟอ่อนๆจักโดนเติบ ลองยกขึ้นเบิ่ง ถ้าหมกได๋ น้ำหนักเบาขึ้นจากเดิมหลายเติบแสดงว่า หมกนั่นสุกแล้ว วิธีนี่สิได้หมกเขียดที่มีกลิ่นหอมของใบตองกล้วยนำ แต่กะต้องระวังบ่ให้มันไหม้ หรือหมกแตก ส่วนผู้ได๋ขี้คร้านก่อไฟ เพราะที่บ้านมีแต่เตาแก๊ส กะใช้วิธีที่ 2 กะคือต้มเอาเลยกะได้ การต้มนั่นกะให้ใส่น้ำท่วมแค่ครึ่งหมกอย่าให้น้ำหลายเกิน หรือสิใช้วิธีที่ 3 นึ่งใส่หวด หรือใส่ซึง เอา อั่นนี่กะง่ายดีสุกง่ายดี หรือผู้ได๋มีเตาไมโครเวฟ กะเข้าไมโครเวฟเลยง่ายดี พอเฮ็ดสุกแล้ว กะเอามาเปิดใส่จาน ปั้นข้าวฮ้อน คำใหญ่ๆ คุ่ยเลย แซบ เป็นตาหน่าย

"ต้มส้มปลาค้อใหญ่ใส่มดแดง"




วัตถุดิบ1. ปลาค้อใหญ่ จัก 2 โตกะพอแล้ว เดี๋ยวสิกินบ่เหมิด คัวเกร็ด หั่นให้เรียบร้อย
2. มดแดง กระประมาณบ่ถืก ตอนจับมาบ่สามารถตวงได้ มันไต่หนีหมด เป็นอันวาประมาณ กำมือใหญ่ๆนึงพู้นหล่ะ ฟ้าวกำฟ้าววางเด้อ เดี๋ยวมันกดเอา
วิธีการเอามดแดงง่ายๆ คือเอากระสอบปุ๋ยไปล้อมรังมดแดง แล้วสั่นกิ่งไม้นั้นให้มดแดงตกมาใส่ถุงปุ๋ย ครับ หากรังเท่านั้นก็ ประมาณ 2-3 รัง3. หัวสิงไค หรือ ตะไคร้ ทุบหัวแล้วหั่นเป็นท่อนๆ4. หอมเป หรือ ผักหอมหนาม หรือ ผักชีฝรั่ง มีส่วนให้กลิ่นคาวครับ
5. ใบบักหูด (ใบมะกรูด)6. ข่าเครื่องปรุง1. ปลาแดก น้ำปลา เกลือ2. พริกแห้ง3. หอมแดงหั่น4. ผงชูรส ไผบ่กินกะบ่ต้องใส่วิธีการปรุง1. ตั้งหม้อ ตำบักพริกกับเกลือ ใส่ข่า หัวสิงไคที่หั่นเป็นท่อนๆ หอมแดงหั่น ต้มน้ำให้เดือด 2. ใส่น้ำปลาแดกลงไปตามที่คิดว่ามันบ่เค็ม 3. พอน้ำเดือด ฟดบั๊วๆๆๆ เฮากะเอาเอาปลาค้อที่เฮาหั่นไว้ใส่ลงไปในหม้อ (วาตะใส่ตอนที่น้ำบ่เดือด ปลามันสิคาวนั่นหนา)4. ถ่าจักคราวพอปลาเริ่มสุก ตกฟองปลอกออก เพื่อให้น้ำใส ใส่มดแดงที่เตรียมไว้ลงไป5. ใส่หอมเป ให้หอม6. ปรุงรส ตามใจชอบ7. ยกออกจากเตา สิเห็นมดแดงลอบละล่อง พร้อมรับประทานในฐานะที่ใหญ่หนูอาวุโสสุด ให้ตักก่อนผมขอจองใส้ปลาค้อใหญ่ เด้อครับเด้อ (บ่แมนปอบเด้อ)

คั่วแมงเม่า .


แมงเม่า หรือ แมลงเม่า เป็นระยะชีวีตช่วงหนึ่งของปลวก ซึ่งแมงเม่าสิมีเฉพาะช่วงฤดูฝนเท่านั่น และแมงเม่ากะมักสิออกมาในมื่อได๋ฝนตก มื่อได๋ฝนบ่ตกแมงเม่ากะสิบ่ค่อยออกมา ในช่วงที่เป็นแมงเม่าของปลวกนี่ เมื่อมันบินออกจากฮังปลวกมาแล้ว มันสิมีชีวิตอยู่ช่วงสั่นๆเท่านั้น พอมาตอมไฟ แล้วปีกมันกะสิหล่น แล้วกะสิหาหม่นลงดินหาหม่องวางไข่ แล้วกะตายไป แต่โดยธรรมชาติของแมงเม่าแล้ว มันสิเป็นแมลงที่ชอบแสงไฟหลายกั่วหมู่ ถ่าเห็นแสงไฟอยู่หม่องได๋มันสิบินไปหาทันที ถึงแม้ไฟสิไหม้ปีกมันมันกะยอมตาย ขอให้ได้ไปเล่นไฟ มันเป็นพวกที่ชอบเล่นกับไฟ (บ่แม่นเล่น กับไฟ ที่แปลว่า ไม้ขีด เด้อ เดี๋ยวสิแปลไปเป็นไทยว่า พวกที่ชอบเล่นไม้ขีด) แมงเม่า มีหลายชนิดด้วยกัน กะคือกันกับปลวกนั่นหละ มีทั้งปลวกโพน ปลวกเป็นหัว และกะปลวกที่ขอนไม้ แต่ว่า ชาวบ้านเฮาสิมักจำแนก แมงเม่าออก เป็น สองจำพวก กะคือ แมงเม่าขี่หมา กับ แมงเม่าใหญ่ ที่เฮาเอามาคั่วกินได้กะคือ แมงเม่าใหญ่ ส่วนแมงเม่าขี่หมามันกินบ่ได้ มันคันคอ มันบ่แซบ แต่ว่าแมงเม่าขี่หมามันสิออกมาหลายกว่าแมงเม่าใหญ่ แม่นฝนสิตกค่อย หรือตกแฮง กะสิเห็นแมงเม่าขี่หมามาตอมไฟตลอด แต่ว่าหมู่บ่ใหญ่ ปริมาณบ่หลาย แต่ว่าถ้าเป็นแมงเม่าใหญ่นั้น ถ้าฝนบ่ตกแฮงอีหลีมันสิบ่ออกมา แต่ว่ามื่อได๋ยามกลางเว็นฝนตกแฮงๆ ยามค่ำมากะสิเห็นแมงเม่าใหญ่ออกมาบินเป็นจำนวนมาก ซึ่งมันกะเป็นอาหารของสัตว์พวกกบ เขียด อึ่ง ขี้คันคาก กับแก้ ขี่กะปอม เป็นต้น การหาแมงเม่า กะหาได้โดยการ ไต้แมงเม่า ในสมัยก่อน สมัยที่บ่ทันมีไฟฟ้าใช้ สมัยที่ข้าพเจ้าน้อยๆอยู่ จำได้ว่า มื่อได๋ มีแมงเม่าใหญ่ออกมา เฮากะสิเอาถาดพาเข่า หรือกาละมังกะได้ มาใส่น้ำจักเล็กน้อย มาตั้งใว้นอกชาน แล้วกะเอาตะเกียงไต้ไฟมาตั้งไว้กลางถาด หลังจากนั้นกะมอดตะเกียงดวงอื่นที่อยู่ในบ้าน ให้เหลือตะเกียงดวงเดียวที่เฮาไต้แมงเม่านี่หละ สมัยก่อน แค่แสงสว่างจากตะเกียงน้ำมันก๊าส ดวงเดียว แสงสว่างกะหุ่งไปบักไกลพุ่นเด้ แมงเม่าเห็นแสงไฟมันกะบินมาตอม พอมาตอมไฟจักคาวมันเมื่อย หรือมันบินไวโพด กะเกิดการเสียหลัก บินตกลงน้ำในกาละมัง บินขึ้นบ่ได้จ้อย เอาไปเอามา หลายต่อหลาย ได้แมงเม่าเต็มกาละมังกะมี แต่ว่าสมัยปัจจุบันนี่ มีไฟฟ้าใช้แล้ว ฮอดบ่ได้ไต้ มันกะบินมาเอง มาตอมหลอดไฟ กวาดหนีบ่หวาดบ่ไหวพุ่นหละ การไต้กะไต้โดยการ เอากาละมังที่มีน้ำไปตั้งไว้ใต้หลอดไฟ ท่อนั่นหละแมงเม่ากะสิบินตกเต็มแล้ว หรือ หน้าบ้านผู้ได๋ เป็นเดิ่นที่ลาดปูนไว้ ถ้าแมงเมามาลงหลายๆกะเอาฟอยไปกวาดต้อมเอาโลด สมัยนี่จั่งแม่นง่าย แต่กะบ่ค่อยมีคนหากินปานได๋ดอกแมงเม่า ทุกมื่อนี่ เด็กน้อยกะบ่มักกิน ย่อนว่ามันมักกินแต่ขนมนั่นหละเด็กน้อยซุมื่อนี่ ฮู้จักบ่บุ๊ ว่าคั่วแมงเม่าเป็นจั่งได๋

ก้อยไข่มดแดง


ส่วนประกอบ1.ไข่มดแดง 1 ถ้วย อย่าเลือกเอาแม่แดงมันออกเหมิดหลาย จ่งไว้จักหน่อยให้มันมีรสส้ม เพราะว่าก้อยไข่มดแดงบ่ต้องใส่บักนาว มดแดงมันส้มอยู่แล้ว 2.แจ่วผงหรือพริกป่น นี่หละ 3.ข้าวคั่ว สำหรับข้าวคั่วนี่ สมัยก่อนไทบ้านเฮาสิบ่ตำข้าวคั่วใส่กระปุกไว้คือกับสมัยนี้ บางคนกะว่าคนสมัยก่อนขี้คร้าน แต่ความจริงกะคือว่า ข้าวคั่ว ที่คั่วแล้วตำใหม่ๆ มันสิมีกลิ่นหอม ถ้าคั่วไว้โดน มันสิบ่อหอม ดังนั้นคนสมัยก่อนเมื่อถึงเวลาสิเฮ็ดแนวกิน จำพวก ลาบ จำพวกก้อย เขาจั่งค่อยคั่วข้าวคั่ว คั่วหน่อยๆพอเฮ็ดกินเป็นครั้งคราวเอา มันจั่งหอม บ่คือสมัยนี้ คั่วข้าวคั่วแต่ละทีบักหลาย แล้วกะใซ้เครื่องปั่น ปั่นใส่กระปุกไว้กินเป็นเดือน ความหอมของข้าวคั่วกะสิลดลง นอกจากเรื่องความหอม แล้วการคั่วข้าวคั่วไว้โดน มีโอกาสสูงที่ข้าวคั่วสิเกิดรา แล้วรากะสิสร้าง ท๊อกซิน ที่ชื่อว่า อะฟลาท๊อกซิน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งที่สำคัญ อันนี่เฮาควรระวัง ถ้าเป็นไปได้ ควรสิเฮ็ดตามคนโบราณเฮา ที่บ่คั่วข้าวคั่วไว้ ยามสิเฮ็ดลาบ เฮ็ดก้อยจั่งค่อยคั่วตำเอา แต่ว่าแจ่วผง เฮาได้ใซ้ดู๋ อันนี่กะคั่วไว้ เพรากะปุกหนึ่งกินบ่กี่วันกะเหมิด 4.น้ำปลา หรือน้ำปลาแดก 5.ผักหอมต่างๆ เช่น หัวผักบั่ว ผักซีจีน สะระแหน่ เป็นต้น วิธีปรุง 1.เทแจ่วผง ข้าวคั่ว น้ำปลา ลงไปในถ้วยไข่มดแดง ที่เฮาล้างสะอาดแล้ว คนให้เข้ากัน ผู้ได๋มักเผ็ดกะใส่แจ่วหลายๆ แต่ต้องระวังอย่าสะใส่น้ำปลาหลาย เพราะมันเค็มง่าย มันสิไปใกล้บรบือโพด (ทางสารคาม ถ้าเฮ็ดแนวกินเค็ม เขาสิว่าอยู่ไกล้บรบือ เพราะแต่ก่อน บรบือ ต้มเกลือหลาย) 2.ซอยหัวผักบั่ว ผักซีจีน สะระแหน่ลงไป คนให้เข้ากัน หรือบางคนกะสิใส่ครก ยั่วให้ไข่มดแดงแตกจักหน่อย แต่ว่าทางที่ดีบ่อต้องตำดอก เวลากินเฮาจั่งค่อยปั้นคำข้าวสีใหญ่ๆ จ้ำแฮงๆไข่มดแดงมันกะสิแตกเอง (สูตรนี่บ่ให้ใส่ผงชูรสเด้อ รสชาติมันดีอยู่แล้ว บ่ต้องชูอีก) 3.แบ่งใส่ถ้วย หาพาข้าวลง กินกันเลย แต่ว่าถ้าสิให้แซบต้องกินกับผัก ผักที่เอามากินกับก็ต้องเป็นผักตามฤดูกาล ได้แก่ ลวกผักสาบ (อย่าลวกเปื่อยหลายมันสิเซาขม) ลวกดอกแคท่ง ยอดผักติ้ว ผักเม็ก ผักกะโดน ผู้ได๋มักเผ็ดกะหักบักพริกหน่วยกินกับ โฮ้…ซี้ด….เผ็ดๆ แซบคัก แซบคัก แต่อย่าสะกินเพลินหลาย เดี๋ยวกัดพุงแก้มจะของ สิได้น้ำตาตกใน เด้.. ปล.ข้อควรระวัง ถ้าผู้ได๋ ท้อง ไส้ บ่ค่อยดี อย่าสะกินหลายๆเด้อ ก้อยไข่มดแดง เพราะมันดิบ มันสิเฮ็ดให้ยื่ง เจ็บท้องได้ หรือตดซู่กันดม อยู่เหมิดมื่อ…

แกงผักหวานใสไข่มดแดง .




แกงผักหวานใส่ไข่มดแดง กะเป็นอาหารชั้นยอดของชาวอีสานเฮา ซึ่งกะสิหากินได้เป็นบางฤดูกาลเท่านั่น ถ้าผู้ได๋ได้กินแล้วสิติดอกติดใจ โดยเฉพาะผักหวานยอดอ่อนๆสดๆ กับไข่มดแดงใหม่ๆ การเฮ็ด แกงผักหวานใส่ไข่มดแดง เฮ็ดบ่ยาก บ่มีอีหยังซับซ้อน เพราะบ่ว่าสิเป็นผักหวาน หรือไข่มดแดง มันมีความแซบอยู่ในโตของมันอยู่แล้ว ไข่มดแดงบ่ต้องใส่อีหยังมันกะแซบของมันอยู่แล้ว ฉะนั้นเมื่อนำของแซบมาแกงใส่ของแซบ ลองเบิ่งมันสิแซบยกกำลังสองหรือไม่ หรือบางครั้งเฮากะเพิ่มคุณค่าทางอาหาร โดยการใส่ ปลาย่าง ใส่เห็ดเฟียง หรือเห็ดขอนขาวอ่อนๆ เป็นแกงรวมๆนี่กะสุดยอด ส่วนประกอบ 1.ผักหวาน(ผักหวานป่า) ยอดอ่อนๆสดๆ จักสองสามกำ กำมือใหญ่ๆ บ้านเฮาเอิ้น กำง่าง 2.ไข่มดแดง อันนี่ต้องไปแหย่นำกกโก กกหว้า หรือกกม่วงกะได้ เอาจักครึ่งถ้วย ถ้าอยากให้มันออกรสส้มจักหน่อย กะใส่ แม่เป้ง นำ หรือใส่แม่มดแดงนำจักหน่อย แต่ถ้ามีโตดำๆ ให้เลือกออก มันขิว 3.ปลาย่าง จัก สองสามโต อาจสิเป็นปลาค่อโตใหญ่ๆย่างแล้วกะตากแห้งๆ หรือปลาดุกย่างกะแซบคือกัน แต่ว่า ถ้าเป้นปลาเนื้ออ่อนย่าง เช่น ปลากด ปลากะแยง ปลาเซียม อันนี่แฮ่งแซบสุดยอด 4.เห็ดเฟียง ไข่อ่อนๆ หรือสิเป็นเห็ดขอนขาวกะได้(เห็ดขอนขาวหรือเห็ดบด บัดใหญ่ เฒ่ามาบัดเปลี่ยนซื่อเป็น เห็ดกระด้าง จ้อย) 5.ผักอื่นๆ เช่นต้นหอม หัวผักบั่ว กระเทียม พริก ผักอี่ตู่หรือใบแมงลักนี่หละ แต่บางคนกะบ่มักใส่ผักอีตู่ เพราะผักอีตู่ มันมีกลิ่นหอม กลิ่นหอมของผักอีตู่สิไปกลบกลิ่นหอมอ่อนๆเฉพาะโตของผักหวาน แต่บางคนกะมักใส่ให่มันมีกลิ่นหอมของผักอีตู่ หรือบางคนกะใส่ผักติ้วเข้าไปนำ ให้มันออกรสหวานๆส้มๆ 6.เครื่องปรุงอื่นๆ ได้แก่ เกลือ น้ำปลา ปลาแดก ส่วนผู้ได๋บ่มักกลิ่นปลาแดกกะบ่ใส่กะได้ ใส่แต่น้ำปลากะแซบแล้ว(อย่างที่บอก ผักหวานกับไข่มดแดงมันมีความแซบในโตของมันแล้ว) วิธีปรุง 1.ค่างหม่อ (ตั้งหม้อบนเตาไฟ) ใส่น้ำจักสองสามถ้วย ทุบหัวผักบั่ว พอแตก ถิ่มลงหม้อจัก สามสี่หัว หักบักพริกใส่จักหน่อย(บักพริก บ่ต้องตำเด้อ เพราะถ้าตำใส่ มันสิเผ็ดหลาย เวลาซดฮ้อนๆ มันสิสะมัก ได้ง่าย) เติมเกลือหยอดน้ำปลาพอประมาณ 2.พอหม้อเดือด ให้บิปลาย่างเป็นต่อนๆ อย่าใส่ทั้งโต มันใหญ่โพดตักกินยาก ใส่ลงไปในหม้อ ใส่ไข่มดแดง(พร้อมแม่เป้ง ถ้ามี) ใส่เห็ดขอนขาวหรือเห็ดเฟียง (ถ้าเห็ดเฟียง ใข่ใหญ่ให้ผ่าครึ่งก่อน ถ้าใส่เหมิดเทิงไข่ ยามกินให้ระวังเพราะมันเย็นซ้า เวลากัดไข่เห็ดเฟียง น้ำแตกโป๊ะ ระวังมันสิลวกลิ้น) ต้มไปอีกจักหน่อย 3.เมื่อเห็นปลาย่างและไข่มดแดงเริ่มสุกแล้ว ให้เด็ดยอดผักหวานให้สั้นลงจักหน่อย หรือบางคนกะใส่ไปเทิงก่างมันนั่นหละ เวลากินจังค่อยฮูดกินเอา ผู้เฒ่ามักสิกินเทิงก่าง เวลาเคี้ยวสิได้กากใยอาหารหลายๆ เมื่อเด็ดแล้วกะถิ่มผักหวานลงหม้อเลย คนจักหน่อย อาจสิใส่ผักหอมผักอี่ตู่ลงไปพร้อม ถ้ามัก คนให้เข้ากัน 4.พอน้ำเดือดกะให่ซีมเบิ่ง ถ้ามันจาง กะเติมน้ำปลาลงไป หรือถ้ามันเค็มกะเติมน้ำลงไปเจือจางอีกจักหน่อย ถ้าพอดีแล้วกะยกหม้อลงหรือปิดแก๊ส อย่าต้มไว้โดน เพราะผักหวานมันสุกง่าย ถ้าต้มไว้โดน วิตามินต่างๆจะสลายตัว ขาดคุณค่าทางอาหาร ขาดรสชาติไป 5.พอเสร็จแล้ว ให้ฟ่าวตักใส่ถ้วย เอาไปกินเลย อย่าสะแกงไว้โดนมันสิเสียรสชาติ แต่กะอย่าสะฟ่าวหลายหละ ก่อนสิซดเข้าปากกะเป่าสาก่อนเด้อ มันสิลวกลิ้น

วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2552

Udonthani Today.

"Photo by permission of Lloyd Dalton"

Udon Thani, a northeastern province covering an area of 11,730 square kilometers, is a prime business center of I-San. Located 564 kilometers from Bangkok, it the world heritage site for the prehistoric culture of Ban Chiang.Udon Thani is probably
Udon Thani is probably best known for its archaeological wonders, paramount among them the hamlet of Ban Chiang where the world's first Bronze Age civilization is believed to have flourished more than 5,000 years ago.Udon Thani borders Nong Khai to the north, Khon Kaen to the south, Sakon Nakhon to the east and Nongbualamphu and Loei to the west. The province is located on a plateau which is approximately 187 metres above sea level.Most of its areas are covered with rice fields, forests and hills, with the Phu Pan mountain ranges and the Songkhram River are the provinces 2 main natural resources.The locals are mainly engaged in agricultural activities, with particular rising in wholesale and retail trading activities.That is why Udon Thani is an agricultural market hub or neighboring provinces.Udon Thani's provincial seal depicts God Wetsuwan, King of the giants and keeper of the Northern Heavenly Gate.The Vietnam War transformed the sleepy provincial city of Udon Thani into a booming support center for a nearby American airbase. Since the withdrawal of American troops in 1976, it has continued to grow as an industrial and commercial center within the region.Today, Udon Thani is the transportation and communications hub of the upper Northeast with several tourist destinations and facilities.Administratively, Udon Thani is divided into the following districts: Muang, Kumphawapi, Nong Han, Phen, Ban Phue, Ban Dung, Si That, Nam Som, Nong Wua So, Kut Chap, Non Sa-at, Wang Sam Mo, Chai Wan, Nong Saeng, Sang Khom, Thung Fon,

Nong Prajak Park and Lake.

"Photo by permission of Lloyd Dalton"

Is found in the western part of town and is a dellghtfuns place to escape the busy donwtown area. With its well-kept gardens and paths if is a popular place with the locals, particularly in the evening when the park attracts joggers, healthy fantics doing ceroblcs , cyclist, footballers, people walking gogs those just looking at the attraction. There are some great little open –air restaurants oppersite Nong Parjak on the Tesa Rd, side where you can sit and have a feed or cold drink...

Located in the Udon Thani Municipality, this giant pond has existed before the establishment of Udon Thani town. Lying to the west of the town, it was formerly called “Nong Na Klue” (pond of salty water) and later changed to “Nong Prachak” in honor of Major General HRH Prince Prachaksinlapakhom, the founder of Udon Thani town. In 1987, the Udon Thani Municipality improved the pond as a royal tribute to King Rama IX on the auspicious occasion of his 50th birthday anniversary. On an island in the pond, a small garden is filled with decorative and flowering plants, and there is a bridge linking the island with the mainland. Within the park, there is a fountain, a clock tower, and a playground. It serves as a place of recreation and exercise for the public....

NON-IMMIGRANTION VISA การ ของอยู่ เมืองไทย

1.คุณสมบัติของผู้ยื่นคำขอ

1.1 ต้องถือหนังสือเดินทาง ของประเทศที่ตนถือสัญชาติอยู่ในปัจจุบัน และต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว
(NON-IMMIGRANTION VISA)
1.2 เหตุผลในการยื่นคำขอ เช่น
(1) ขอเข้ามาเพื่อการลงทุน
(2) ขอเข้ามาเพื่อทำงาน
(3) ขอเข้ามาเพื่อเหตุผลทางมนุษยธรรม แบ่งเป็น มีความสัมพันธ์กับบุคคลสัญชาติไทย หรือมีความสัมพันธ์ กับบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่แล้ว ได้แก่
- เป็นสามี-ภรรยา
- เป็นบิดา-มารดา
- เป็นบุตรอายุต่ำกว่า 20 ปี ที่ยังไม่ได้สมรถ
(4) ของเข้ามาเป็นผู้เชี่ยวชาญ

2.กำหนดวันเปิดรับคำขอ

ในแต่ละปีจะเปิดให้คนต่างด้าวยื่นคำขอจำนวน 1 ครั้ง ซึ่งโดยปกติจะเปิดรับคำขอประมาณเดือนธันวาคมของทุกปี และจะสิ้นสุดในวันทำ...ของปีนั้น สามรถสอบถามวันเปิดรับคำขอ และรายละเอียดเกี่ยวกับเอกสารประกอบคำขอได้ที่ งาน 1 กองกำกับการ 1 กองตรวจคนเข้าเมือง 1 สำนักตรวจคนเข้าเมือง (ห้อง 301 ชั้น 3) ซอยสวนพลู ถนนสาทรใต้ กรุงเทพมหานคร 10120 โทร 0-2287-3117 0-2287-3117 หริ ที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองส่วนภูมิภาค เมื่อรับคำขอแล้ว คนต่างด้าวจะต้องไปยื่นคำของด้วยตนเอง พร้อมเอกสารประกอบตามประเภทการยื่นคำขอ และให้นำหนังสือเดินทางฉบับจริงมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ด้วย

3.ขั้นตอนการดำเนินการหลังจากรับคำขอแล้ว

3.1 เจ้าหน้าที่จะประทับตราอนุญาตให้อยู่ฟังผลรอพิจารณา ครั้งแรก 180 วัน ครั้งต่อไป ครั้งละ 90 วัน จนกว่าจะทราบผลการพิจารณาจา คณะพิจารณาคยเข้าเมือง
3.2 รับใบนัดหมายให้คนต่างด้าว และผู้เกี่ยวข้องมาสัมภาษณ์ โดยมีการทดสอบความสามารถผู้ภาษาไทย และฟังภาษาไทย เข้าใจได้ (... จะต้องมาตรงตามวันที่นัดหมาย หากไม่มาตามที่นัดหมายโดยไม่มีเหตุผลอันควร จะถือว่าสละศิษย์การยื่นคำขอดังกล่าว
3.3 คนต่างด้าวที่มีอายุกว่าสิบสี่ปี (นับตั้งแต่วันที่ยื่นคำขอ) จะต้องได้รับการตรวจสอบประวัติอาชญากรรม จากพนักงานเจ้าหน้าที่ดังนี้
(1) พิมพ์ลายนิ้วมือคนต่างด้าวดังกล่าว ส่งไปตรวจประวัติที่กองทะเบียนประวัติอาชญากร เพื่อตรวจสอบว่ามีประวัติการกระทำผิดในประเทศไทยหรือ
(2) ตรวจสอบหนังสือเดินทางจากบัญชีเฝ้าดู (BLACK LIST) ว่าเป็นบุคคลต้องห้าม ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 หรือไม่
(3) ตรวจสอบว่าเป็นบุคคลที่มีหมายจับต่างประเทศ (หมายแดง) จากกองการตรวจต่างประเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือไม่

4.การพิจารณา

4.1 พิจารณาโดยคณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมือง ประกอบด้วยผู้แทนจากกระทรวงมหาดไทย, กระทรวงการต่างประเทศ, สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม, สำนักงานอัยการสูงสุด, คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน, สภาความมั่นคงแห่งชาติ, การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง โดยความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4.2 หลักเกณฑ์การพิจารณาจะคำนึงถึง รายได้ สินทรัพย์ ความรู้ ความสามารถในด้านวิชาชีพ และฐานะในครอบครัวคนต่างด้าวกับบุคคล.....สัญชาติไทย เงื่อนไขเกี่ยวกับความมั่นคงของชาติ บุคลิกภาพ สุขภาพ ความเข้าใจภาษาไทย และเงื่อนไขอื่นๆ ตามความเหมาะสมที่สอดคล้องกับสภาพสังคม และนโยบายของรัฐบาล
4.3 ระยะเวลาในการพิจารณาแต่ละปีกำหนดระยะเวลาไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับนบายของคณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมือง และกระทรวงมหาดไทย

5. ค่าธรรมเนียมต่างๆตามที่กฏหมายกำหนด

5.1 ค่าธรรมเนียมสำหรับการยื่นคำขอ คนละ 7,600 บาท (ร้อยพันหกร้อยบาทถ้วน) – จะได้รับอนุญาตหรือไม่ก็ตาม เงินค่าธรรมเนียมจะไม่ให้คืน
5.2 หากได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ ค่าธรรมเนียมใบสำคัญถิ่นที่อยู่ ฉบับละ 191,400 (หนึ่งแสนเก้าหมื่นหนึ่งพันสี่ร้อยบาทถ้วน สำหรับคนที่เป็นคู่สมรถ หรือบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ของคนต่างด้าวที่มีถิ่นที่อยู่ ในราชอาณาจักร หรือบุคคลซึ่งมีสัญชาติไทย ฉบับละ 95,700 บาท (เก้าหมื่นห้าพันเจ็ดร้อยบาทถ้วน)

การแจ้งที่พักคนต่างด้าว

การแจ้งที่พักของคนต่างด้าว ซึ่งตาม พระราชบัญญัติ คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 38 ได้กำหนดไว้ว่า"เจ้าบ้าน เจ้าของบ้านหรือผู้ครอบครอง หรือผู้จัดการโรงแรมซึ่งรับคนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว เข้าพักอาศัย จะต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองซึ่งตั้งอยู่ในท้องที่ เคหสถาน หรือโรงแรมนั้นอยู่ ภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง นับแต่เวลาที่คนต่างด้าวเข้าพักอาศัย ถ้าท้องที่ใดไม่มีที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองตั้งอยู่ ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานตำรวจ ณ สถานีตำรวจในท้องที่นั้นในกรณี ที่บ้าน เคหสถาน หรือโรงแรมที่คนต่างด้าวเข้าพักอาศัยตามวรรคหนึ่ง ตั้งอยู่ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ให้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ กองตรวจคนเข้าเมืองการแข้งตามวรรคหนึ่งและวรรคสองให้เป็นไปตามระเบียบที่อธิบดี กำหนด"ในการแจ้งที่พักคนต่างด้าวที่เข้าพักอาศัยในเคหะสถานซึ่งได้แก่ โรงแรมที่ได้รับอนุญาตตามพระราช บัญญัติโรงแรมฯและ เกรสเฮ้าส์ แมนชั่นอพาร์ตเม้นท์ หรือเจ้าของบ้านเช่าทั่วๆไป ให้เจ้าของบ้านเช่า หรือผู้เช่าประกอบการแจ้งตามแบบ ตม. 30 ในการดำเนินการแจ้งที่พักของคนต่างด้าวภายใน 24 ชั่วโมงนั้น สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองได้กำหนดรูปแบบและวิธีให้บริการเพื่อผู้มาขอรับบริการได้เลือกวิธีการที่เหมาะสมสำหรับการดำเนินการดังนี้
นำเอกสารมาแจ้งด้วยตนเอง หรือ
มอบหมายให้ผุ้อื่นนำเอกสารมาแจ้ง หรือ
แจ้งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน หรือ
แจ้งทางระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet)
วิธีการกรอกบัญชีรายชื่อคนต่างด้าวที่เข้าพักอาศัย (แบบ ตม.30) การกรอกรายละเอียดขอให้ท่านดำเนินการกรอก ให้ครบทุกช่อง โดยให้ดูจากหนังสือเดินทางของบุคคลต่างด้าวเป็นหลัก เนื่องจากรายละเอียดของบุคคลต่างด้าวซึ่ง บุคคลต่างด้าวเขียนให้ก่อนเข้าพักอาศัยมักไม่ถูกต้อง และการกรอกให้ใช้วิธีพิมพ์หรือเขียน ถ้าเป็นการเขียนให้ เขียนเป็น BLOCK LETTER และมีข้อพึงระวังในการกรอกดังนี้ชื่อคนต่างด้าว ต้องเว้นช่อง่างระหว่าง ชื่อตัว ชื่อ กลาง ชื่อสกุล ให้เห็นชัด เลขที่หนังสือเดินทาง หากมีตัวหนังสือข้างหน้า หรือข้างหลังตัวเลขให้เขียนลงไปด้วย ช่องบัตรขาเข้าเลขที่ ให้กรอกเลขที่บัตรขาเข้า(บัตร ตม.6) ซึ่งแนบอยู่ในหนังสือเดินทาง โดยกรอกเช่นเดียวกับการกรอกเลขที่หนังสือเดินทาง กล่าวคือ หากมีตัวหนังสือ ให้กรอกตัวหนังสือลงไปด้วย วันเดินทางเข้า หมายถึง วันที่คนต้างด้าวเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรไทย สำหรับวันที่เข้าพัก ให้กรอกลงในแผ่นหน้าของใบแจ้งรับคนต่างด้าวเข้าพักอาศัย

พนักงานเจ้าหน้าที่จะตรวจสอบข้อมูลในแบบ ตม.30 เมื่อตรวจสอบแล้วพบว่ามีการกรอกข้อมูลอย่างถุกต้องครบถ้วนแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการรับแจ้งและฉีกแบบ ตม.30 ส่วนล่างให้ผู้แจ้งเก็บรักษาต่อไป

อัตราค่าธรรมเนียม

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ มาตรา ๒๒ มาตรา ๓๕ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๙ มาตรา ๔๕ มาตรา ๔๗ มาตรา ๕๐ มาตรา ๕๑ มาตรา ๕๒ และมาตรา ๕๗ แห่งพระราบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ และมาตรา ๑๒(๑) วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ อันเป็นพระราชบัญญัติ ที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับ การจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ปรกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๕ มาตรา ๓๖ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดย อาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฏหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ออกกฏกระทรวงได้ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑ แห่งกฏกระทรวง (พ.ศ.๒๕๒๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยกฏกระทรวง ฉบับที่ ๒๖ (พ.ศ.๒๕๔๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

ข้อ ๑ ให้กำหนดอัตราค่าธรรมเนียม ดังต่อไปนี้ อัตราใหม่ อัตราเก่า


(๑) การตรวจตราตามมาตรา ๑๒(๑)
(ก) ประเภทคนเดินทางผ่านราชอาณาจักร ครั้งละ ๘๐๐ บาท
(ข) ประเภทนักท่องเที่ยว ครั้งละ ๑,๒๐๐ บาท (๓๐๐)
(ค) ประเภทคนอยู่ชั่วคราว

- ใช้ได้ครั้งเดียว
- ใช้ได้หลายครั้งภายในหนึ่งปี
- ใช้ได้หลายครั้งภายในสามปี สำหรับบุคคลซึ่งมีหนังสือเดินทาง หรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง ของสมาชิกกลุ่มความร่วมมือ ทางเศรษฐกิจเอเซียแปซิฟิก ซึ่งเดินทางเข้ามา ในราชอาณาจักร เพื่อประกอบธุรกิจ ๒,๐๐๐ บาท
๕,๐๐๐ บาท

๕,๐๐๐ บาท

(ง) ประเภทคนเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรตามาตรา ๔๑ ครั้งละ ๑,๒๐๐ บาท
(จ) ประเภทคนเข้าเมืองนอกกำหนดจำนวนคนต่างด้าว ซึ่งเข้ามาอยู่ในมาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นรายปี
- ใช้ได้ครั้งเดียว
- ใช้ได้หลายครั้งภายในหนึ่งปี ๑,๙๐๐ บาท
๓,๘๐๐ บาท
(๒) อุทธรณ์ตามมาตรา ๒๒ คนละ ๑,๙๐๐ บาท (๕๐๐)
(๓) คำขออนุญาตเพื่ออยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไปตามาตรา ๓๕ คนหนึ่ง ครั้งละ ๑,๙๐๐ บาท (๕๐๐
(๔) อุทธรณ์ตามมาตรา ๓๖ คนละ ๑,๙๐๐ บาท (๕๐๐)
(๕) คำขออนุญาตเพื่อขอมาอยู่ในราชอาณาจักรอีกตามมาตรา ๓๙
- คนหนึ่งใช้ได้ครั้งเดียว
- คนหนึ่งใช้ได้หลายครั้งภายในระยะเวลาที่ยังเหลือ ๑,๐๐๐ บาท
๓.๘๐๐ บาท (๕๐๐)
(๑,๐๐๐)
(๖) คำขออนุญาตเพื่อมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ตามมาตรา ๔๕ ๗,๖๐๐ บาท (๒,๐๐๐)
(๗) ใบสำคัญถิ่นที่อยู่ตามมาตรา ๔๗ หรือมาตรา ๕๑
(ก) ใบสำคัญถิ่นที่อยู่ตามมาตรา ๔๗ ฉบับละ ในกรณีที่ผู้ขอใบสำคัญถิ่นที่อยู่ เป็นคู่สมรสหรือบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ของคนต่างด้าว ที่มีถิ่นที่อยู่ ในราชอาณาจักร หรือของบุคคลซึ่งมีสัญชาติไทย ฉบับละ ๑๘๑,๔๐๐บาท
๙๕,๗๐๐ บาท
(๕๐,๐๐๐)
(๒๕,๐๐๐)
(ข) ใบสำคัญที่อยู่ตามมาตรา ๕๑ ฉบับละ ๙๕,๗๐๐ บาท (๒๕,๐๐๐)
(๘) หลักฐานการแจ้งออกไปนอกราชอาณาจักร เพื่อกลับเข้ามาอีกมาตรา ๕๐(๑) คนละ ๑,๙๐๐ บาท (๕๐๐)
(๙) ใบสำคัญถิ่นที่อยู่ตามมาตรา ๕๐(๒) ฉบับละ ๑๙,๐๐๐ บาท (๕,๐๐๐)
(๑๐) เอกสารที่ออกให้ตามมาตรา ๕๒ ฉบับละ ๑,๙๐๐ บาท (๕๐๐)
(๑๑) คำขอเพื่อพิสูจน์สัญชาติต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามมาตรา ๕๗ คนละ ๘๐๐ บาท (๒๐๐)


ข้อ ๒ กฏกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับตั้งแต่วันปรกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป



ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๖

(นายวันมูหมัดนอร์ มะทา)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

ประเภทวีซ่า

1. คนต่างด้าวที่จะเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ต้องมีหนังสือเดินทาง หรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง อันถูกต้องและรัฐบาลไทยยอมรับ กล่าวคือ ต้องเป็นเอกสารการเดินทาง ซึ่งรัฐบาลของประเทศนั้นๆ ออกให้แก่คนสัญชาติของตน (มิใช่ออกให้โดยรัฐบาลของประเทศที่สาม)

2. การเข้าเมืองของคนต่างด้าวทุกสัญชาติ จำแนกได้หลายประเภท ดังนี้
ประเภทที่ได้รับการตรวจลงตรา (VISA) จากสถานทูตไทย หรือ สถานกงสุลไทยในต่างประเทศ คนต่างด้าวนั้น จะต้องขอรับการตรวจลงตราก่อนเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร หรือขอรับการตรวจลงตราจากกระทรวงการต่างประเทศ

VISA ชนิดต่างๆ แบ่งเป็นประเภทตามวัตถุประสงค์ของการเดินทาง ได้ดังนี้


ประเภทคนผ่าน (Transit- TS) เพื่อการเดินทางผ่านราชอาณาจักร พนักงานเจ้าหน้าที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง ประทับตราอนุญาตให้อยู่ได้ 30 วัน
ประเภทนักท่องเที่ยว (Tourist - TR) เพื่อการท่องเที่ยว พนักงานเจ้าหน้าที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง ประทับตราอนุญาตให้อยู่ได้ 60 วัน
ประเภทคนอยู่ชั่วคราว (Non- Immigrant) เพื่อวัตถุประสงค์ในการทำงาน ทำธุรกิจ ปฏิบัติหน้าที่ราชการ การศึกษาวิจัย เพื่อการลงทุน เพื่อมาอยู่กับครอบครัวคนไทย หรือเพื่อใช้ชีวิตบั้นปลาย เป็นต้น พนักงานเจ้าหน้าที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง ประทับตราอนุญาตให้อยู่ได้ 90 วัน
ประเภทราชการ (Official) เพื่อมาปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ประเภททูต (Diplomatic) เพื่อปฏิบัติหน้าที่ทางการทูต หรือกงสุล หรือการปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ประเภทคนเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร(Immigrant)
ประเภทคนเข้าเมืองนอกกำหนดจำนวนคนต่างด้าว (Non- Quota Immigrant)

ประเภทหนังสือเดินทาง

หนังสือเดินทางมี 5 ชนิด คือ
1. หนังสือเดินทางทูต (Diplomatic Passport)
2. หนังสือเดินทางราชการ (Office Passport, Service Passport, Passport De Service หรือ Passport De Charge De Mission)
3. หนังสือเดินทางธรรมดา (Ordinary Passport)
4. หนังสือเดินทางขององค์การสหประชาชาติ (United nations Passport)
5. หนังสือเดินทางหมู่(Collective Passport)
เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง ต้องมีข้อความทำนองเดียวกันกับหนังสือเดินทาง ซึ่งออกให้โดย รัฐบาลของประเทศ ผู้ถือสังกัดอยู่ มีหลายชนิด เช่น
1. Certificate of Identity
2. Form of Afnidavit to Be used in Lieu of A passport
3. Emergency Certificate
4. Form of Affirmation
5. Laissez – Passez
6. certificate De Depart
7. Seaman’s Discharge Book (ใช้เฉพาะผู้มีหน้าที่ประจำเรือ)

หนังสือเดินทางสูญหาย

1. แจ้งความร้องทุกข์ที่สถานีตำรวจ หรือตำรวจท่องเที่ยว ขอหลักฐานใบแจ้งความร้องทุกข์ พร้อมสำเนา

2. ติดต่อสถานทูตของประเทศเจ้าของหนังสือเดินทาง เพื่อขอออกหนังสือเดินทางเล่มใหม่ หรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หากไม่มีสถานทูตในประเทศไทยให้ติดต่อ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ

3. หนังสือจากสถานทูตถึงด่านตรวจคนเข้าเมือง ขอความร่วมมือให้สำเนาตราขาเข้า ลงในหนังสือเดินทางเล่มใหม่ (อาจจะมีหรือไม่ก็ได้ขึ้นอยู่กับสถานทูตของประเทศต่างๆ)

4. กรุงเทพฯ ติดต่องาน 4 กองกำกับการ 4 กองบังคับการอำนวยการ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ในส่วนภูมิภาค ติดต่อด่านตรวจคนเข้าเมือง เขียนคำร้องและกรอกข้อมูลรายละเอียด เช่น ชื่อ ชื่อสกุล เลขที่หนังสือเดินทาง วันเดือนปี ที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร และเที่ยวบิน ช่องทางเข้า

5. พนักงานเจ้าหน้าที่ประจำด่านตรวจคนเข้าเมือง ตรวจสอบความถูกต้อง ความสมบูรณ์ของเอกสาร ตามข้อ 1 – 4

6. พนักงานเจ้าหน้าที่ประจำด่านตรวจคนเข้าเมือง ตรวจสอบหลักฐานการเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร

การขออยู่ต่อ

1. คนต่างด้างที่มีเหตุผลความจำเป็นต้องอยู่ในราชอาณาจักรเกินระยะเวลาที่กำหนดตามประเภทของการตรวจลงตรา จะต้องยื่นคำขออยู่ต่อในราชอาณาจักรอีกต่อไป โดยยื่นคำขอตามแบบและเสียค่าธรรมเนียมนิยมการยื่นขออนุญาต ครั้งล่ะ 1,900 บาท

2. การยื่นขอให้คนต่างด้าวได้ที่กองตรวจคนเข้าเมือง สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองและด่านตรวจคนเข้าเมืองทั่วประเทศทุกแห่ง

3. สำหรับจังหวัด ภูเก็ต ให้ยื่นคำขอได้ 2 แห่ง
3.1 ที่ทำการด่านตรวจคนเข้าเมืองภูเก็ต เลขที่ 482 ถนนภูเก็ต ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต
3.2 ณ จุด ขยายบริการคนเข้าเมืองป่าตอง ตำบลป่าตอง อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต (เฉพาะกรณีขออยู่ระยะสั้น ไม่เกิน 10 วัน เท่านั้น และเป็นกรณีที่ไม่ใช่ประเภทคนอยู่ชั่วคราว(NON-IMMIGRANT)

4. เอกสารประกอบการยื่นคำร้องขออยู่ต่อในราชอาณาจักร ดังนี้
- รูปถ่ายหน้าตรง ขนาด 4x4 ซม. จำนวน 1 รูป
- สำเนาหนังสือเดินทาง
- หน้าที่ระบุ
- รูปถ่ายผู้ถือหนังสือเดินทาง
- ชื่อ-สกุล ชื่อตัวผู้ถือ
- วัน เดือน ปี และสถานที่เกิด
- เลขที่หนังสือเดินทาง
- วันที่ออกหนังสือเดินทาง-วันที่หนังสือเดินทางหมดอายุ
- สถานที่ออกหนังสือเดินทาง
- รอยประทับตราวันเดินทาง-วันอณุญาตสิ้นสุดครั้งล่าสุด เลขที่บัตร

การรับแจ้งอยู่ในราชอาณาจักร เกิน 90 วัน

วิธีการแจ้ง
คนต่างด้าวแจ้งด้วยตนเองหรือ
คนต่างด้าวมอบหมายให้ผู้อื่นนำหนังสือไปแจ้งหรือ
คนต่างด้าวอาจมีหนังสือแจ้งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน
คนต่างด้าวสามารถแจ้งที่พักอาศัยได้ ก่อนหรือหลัง 7 วัน นับจากวันครบกำหนด
คนต่างด้าวมายื่นคำร้องขออยู่ต่อปีแรก ให้ถือเป็นการแจ้งที่พักอาศัยเมื่ออยู่ในราชอาณาจักรเกิน 90 วันโดยอนุโลม
สถานที่รับแจ้ง
สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ซ.สวนพลู(งาน 1 กองกำกับการ 4 กองบังคับการอำนวยการ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง)
กลุ่มงานบริการขออยู่ต่อ ศูนย์รัชดา( BOI )
ด่านตรวจคนเข้าเมืองทุกแห่ง
การปฏิบัติเมื่อแจ้งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน
สำเนาหนังสือเดินทางทุกหน้า(ถึงหน้าที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรครั้งสุดท้าย รือหน้าที่ได้รับการตรวจลงตราครั้งสุดท้าย)
สำเนาบัตร ตม.6 ขาออก หน้า-หลัง (TM.6)
ใบรับแจ้งการอยู่เกิน 90 วัน (กรณีที่มีการแจ้งอยู่เกิน90 วันมาแล้ว)
กรอกรายละเอียดในแบบ ตม.47 พร้อมลงลายมือชื่อให้เรียบร้อย
ซองจดหมายพร้อมติดแสตมป์ 5 บาท จ่าหน้าซองถึงคนต่างด้าว เพื่อพนักงานเจ้าหน้าที่จะได้จัดส่งใบนัดส่วนล่างของแบบ ตม.47 เมื่อรับแจ้งอยู่เกิน 90 วัน แล้ว พร้อมแบบ ตม.47 เพื่อใช้แจ้งอยู่เกิน 90 วันในครั้งต่อไป
นำเอกสารตามข้อ 1-5 ใส่ซองและจัดส่งโดยไปรษณีย์ลงทะเบียน ทั้งนี้คนต่างด้าวจะต้องเก็บหลักฐานการลงทะเบียนไว้ โดยจ่าหน้าซองมาที่
งาน 1 กก.4 บก.อก.สตม.(90 วัน)
507 ซ.สวนพล ถ.สาทรใต้
แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร
กรุงเทพมหานคร 10120
หรือ

90 DAYS REGISTRATION
507 IMMIGRATION BUREAU,
SOI SUANPLU,SOUTH SATHORN RD.,
THUNGMAHAMEK SATHORN
BANGKOK. 10120


หมายเหตุ

การแจ้งอยู่เกิน 90 วัน และต่อไปๆไปทุก 90 วัน มิใช่ เป็นการขออยู่ต่อในประเทศแต่อย่างใด
คนต่างด้าวผู้ใดอยู่เกินกว่า 90 วัน ไม่แจ้งที่พักอาศัยต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือแจ้งช้ากว่าที่กำหนด ต้องมารายงานตัวด้วยตนเอง และเสียค่าปรับ จำนวน 2,000 บาท หรือคนต่างด้าวถูกจับกุมตัวมาไม่ว่ากรณีใดๆต้องเสียค่าปรับ จำนวน 4,000 บาท

Work Permit Guidance

ความหมาย
คนต่างด้าว หมายถึง บุคคลธรรมดาซึ่งมีสัญชาติไทย
ทำงาน หมายถึง การทำงานโดยใช้กำลังกายหรือความรู้ ด้วยประสงค์ค่าจ้างหรือประโยชน์อื่นใดหรือไม่ก็ตาม
คนต่างด้าวที่ยังไม่เข้ามาในราชอาณาจักร แต่ประสงค์จะทำงานต้องปฏิบัติดังนี้
1. ติดต่อสถานทูตหรือสถานกงสุลไทยประจำประเทศที่ คนต่างด้าวอยู่ เพื่อขอคำแนะนำและขอรับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว (Non-immigrant Visa) ในหนังสือเดินทาง
2. ให้นายจ้างในราชอาณาจักรยื่นขอใบอนุญาตทำงานแทนเมื่อได้รับแจ้งการอนุญาตแล้ว คนต่างด้าวจึงเดินทางเข้ามารับขอใบอนุญาตและทำงานได้
คนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรแล้วประสงค์จะทำงานต้องปฏิบัติดังนี้
1. คนต่างด้าวที่จะขออนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนหรือตามกฎหมายอื่น ต้องยื่นขอรับใบอนุญาตทำงานภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ทราบการได้รับอนุญาตให้ทำงานตามกฎหมายนั้น ๆ
ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
2. คนต่างด้าวไม่ว่าจะมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรหรืคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรประเภทคนอยู่ชั่วคราว จะทำงานได้ต่อเมื่อได้รับใบอนุญาตทำงานตามแบบที่กฎหมายกำหนด
ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกินสามเดือนหรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
3. คนต่างด้าวฝ่าฝืนทำงาน ซึ่งห้ามโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดงานในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ พ.ศ. 2522 มีโทษจำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
คนต่างด้าวที่มีใบอนุญาตทำงานแล้ว ต้องปฏิบัติดั้งนี้
1. มีใบอนุญาตติดตัวไว้หรือมีอยู่ ณ ที่ทำงานในระหว่างทำงานเพื่อแสดงต่อเจ้าหน้าที่ได้ตลอดเวลา
ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
2. ต้องทำงานที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น หากประสงค์จะทำงานอื่นหรือเปลี่ยนท้องที่หรือสถานที่ในการทำงาน ต้องได้รับอนุญาตก่อน
ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เดินสองพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
3. คนต่างด้าวที่ได้รับการขยายเวลาการทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมหรืการลงทุนหรืตามกฎหมายอื่น ต้องแจ้งภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับการขยายเวลา
ผู้ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
4. ก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุและประสงค์จะทำงานต่อ ต้องยื่นคำขอใบต่ออายุใบอนุญาตก่อนทำงานได้
ผู้ฝ่าฝืนทำงานเมื่อใบอนุญาตสิ้นอายุแล้ว มีโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
5. กรณีใบอนุญาตชำรุดหรือสูญหาย ต้องยื่นขอใบแทนใบอนุญาตภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทราบ
ผู้ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
6. กรณีเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล สัญชาติ ที่อยู่อาศัยของคนต่างด้าวหรือชื่อสถานที่ทำงาน ต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขโดยไม่ชักช้า
7. เมื่อเลิกทำงานต้องคืนใบอนุญาตภายใน 7 วัน นับแต่วันเลิกทำงาน
ผู้ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
นายจ้างที่ประสงค์จะจ้างคนต่างด้าวทำงาน ต้องปฏิบัติดังนี้
1. ห้ามรับคนต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตทำงาน หรือรับคนต่างด้าวเข้าทำงานที่มีลักษณะงานหรือเงื่อนไขต่างไปจากที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต
ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
2. นายจ้างที่รับคนต่างด้าวเข้าทำงานหรือให้ย้ายไปทำงานที่อื่น หรือ ออกจากงาน ต้องแจ้งภายใน 15 วัน นับแต่วันที่เข้าทำงาน หรือย้าย หรือออกจากงาน
ผู้ฝ่าฝืนมีโทษมีโทษไม่เกินหนึ่งพันบาท
สิทธิการอุทธรณ์
กรณีที่ยื่นขอใบอนุญาตทำงานและไม่ได้รับอนุญาต หรือไม่ได้รับการต่ออายุใบอนุญาต หรือไม่อนุญาตให้ทำงานอื่น หรือไม่ให้เปลี่ยนท้องที่ หรือสถานที่ทำงาน
ผู้ขอมีสิทธิอุทธรณ์ โดยทำเป็นหนังสือยื่นต่ออธิบดีกรมแรงงาน ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ทราบคำสั่งไม่อนุญาต
สถานที่ติดต่อ
1. กรุงเทพฯ ณ กองงานคนต่างด้าว อาคารพงษ์สุภี ถนนวิภาวดี รังสิต เขตจตุจักร กรุงเทพฯ โทรศัพท์ (02) 6176576-9
2. สำนักงานจัดหางานจังหวัดขอนแก่น อาคารสหกรณ์ออมทรัพย์ครูขอนแก่น ถนนหลังศูนย์ราชการ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น หรือ สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด
3. สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด ในท้องที่ที่คนต่างด้าวทำงาน

VISA หรือการตรวจลงตรา

VISA หรือการตรวจลงตรา คือการอนุญาตให้คนต่างด้าวเข้ามาในประเทศได้ เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ กัน
คนต่างด้าวต้องขอรับการตรวจลงตรา จากสถานทูตหรือสถานกงสุลไทยในต่างประเทศ ก่อนเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร หรือขอรับการตรวจลงตราจากกระทรวงการต่างประเทศ หรือสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง(Visa on arrival) ยกเว้นคนต่างด้าวบางประเภท เป็นประเทศที่ได้รับการผ่อนผัน เช่น ผ.30 ผผ.90 สามรถเดินทางเข้ามาได้โดยไม่ต้องขอรับการตรวจลงตรา
VISA แบ่งเป็นประเภทตามวัตถุประสงค์ของการเดินทางได้ 7 ประการ คือ
1. ประเภทคนผ่าน(Transit)เพื่อการเดินทางผ่านราชอาณาจักรอนุญาตให้อยู่ได้ 30 วัน
2. ประเภทนักท่องเที่ยว(Tourist) เพื่อการท่องเที่ยว อนุญาตให้อยู่ครั้งแรก 60 วัน
3. ประเภทคนอยู่ชั่วคราว(Non-Immigrant) เพื่อวัตถุประสงค์ในการงานธุรกิจ ปฏิบัติหน้าที่ราชการ การศึกษาวิจัย หรือมาอยู่กับครอบครัว ฯลฯ อนุญาตให้ครั้งแรก 90 วัน โดยมีอักษรย่อของความมุ่งหมายต่าง ๆควรทราบดังนี้


อักษรย่อ คำเต็ม วัตถุประสงค์
D Diplomatic การปฏิบัติหน้าที่การทต หรือกงสุล
F Offical การปฏิบัติหน้าที่ทางราชการ
TR Tourist การท่องเที่ยว
S Sport การกีฬา
B Business ธุรกิจ
IM Invertment Through Ministry การลงทุนที่ได้รับการเห็นชอบจาก กระทรวง ทบวง กรมที่เกี่ยวข้อง
IB Investment Through BO การลงทุนหรือการอื่นที่เกี่ยวกับการลงทุนภายใต้บังคับ กฎหมายว่าด้วยการลงทุนเดินทางผ่านราชอาณาจักร
TS Transit เดินทางผ่านราชอาณาจักร
C Captain or Crew การเป็นผู้ที่ควบคุมพาหนะหรือคนประจำพาหนะที่เข้า มายังท่าสถานีหรือท้องที่ในราชอาณาจักร
ED Education การศึกษาหรือดูงาน
M Mass Media of Communication การปฏิบัติหน้าที่สื่อมวลชน
R Religion การเผยแพร่ศาสนาที่รับความเห็นชอบจากกระทรวง ทบวง กรมที่เกี่ยวข้อง
RS Research and Science การค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ หรือฝึกสอนในสถาบันค้น คว้า หรือสถาบันการศึกษาในราชอาณาจักร
EX Expert การปฏิบัติงานด้านช่างฝีมือหรือผู้เชี่ยวชาญ
O Others การอื่นตามที่กำหนดในข้อ 11 แห่งกฎกระทรวง มหาดไทยฉบับที่ 6 (พ.ศ.2523) ออกตามความใน พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ.2522
MT Medicaltreatment การรับการรักษาพยาบาล


4. ประเภทราชการ(Official) เพื่อปฏิบัติหน้าที่ราชการ สำหรับหนังสือเดินทาว ราชการหรือหนังสือเดินทางสหประชาชาติหรือเทียบเท่า อนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ตามความตกลงระหว่างประเทศ
5. ประเภททูต(Diplomatic) เพื่อปฏิบัติหน้าที่ทูตหรือกงสุล หรือการปฏิบัติหน้าที่ราชการสำหรับหนังสือเดินทางทูต อนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ตามความตกลงระหว่างประเทศ
6. ประเภทคนเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร(Immigrant)
7. ประเภทคนเข้าเมืองนอกกำหนดจำนวนคนต่างด้าน(Non-Quota Immigrant)

วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2552

UDONTHANI : How to get there.


From Bangkok, take Highway No. 1 to Saraburi and Highway No. 2 to Udon Thani via Nakhon Ratchasima and Khon Kaen Provinces, a total distance of 564 kilometers.



By Bus

Buses for Udon leave Bangkok's Northern Bus Terminal (Mochit 2 Bus Terminal) throughout the day from 5 a.m. to 11 p.m. The journey takes around 10 to 11 hours and the fare is 145 baht for regular buses (260 baht for air-conditioned buses). Contact Transport Co. Ltd at Tel: 0-2936-2852-66 or visit www.transport.co.th for more information.

Buses leave the main bus terminal in Khorat every half hour during the day and arrive in Udon five hours later. The cost is 81 baht for regular buses (146 baht for air-conditioned buses).

There are buses running between Udon Thani and other provinces such as Nong Khai, Loei, Khon Kaen, Sakon Nakhon, Nakhon Phanom and Ubon Ratchathani. The buses leave Udon Thani Bus Terminal every 40 minutes.



By Train

A train service between Bangkok and Udon Thani is available every day. For more details, contact the Travel Service Unit, State Railway of Thailand (SRT), Tel. 1690; 0 2220 4334 0 2220 4334; and 0 2220 4444 0 2220 4444, or visit www.railway.co.th



By Air

A daily flight between Bangkok and Udon Thani is offered by the Thai Airways International Public Company Limited (THAI). For detailed information, contact THAI, Tel. 1566; 0 2280 0060 0 2280 0060; 0 2282 0080 0 2282 0080; and 0 2628 2000 0 2628 2000, or visit www.thaiairways.com. In addition, there are low-cost airlines daily serviced by Thai Air Asia, Tel. 0 2515 9999 0 2515 9999 or www.airasia.com, and Nok Air, Tel. 1318 or www.nokair.co.th

Travelling around Udon Thani



By Bus

A hassle free way to get around the city is by the city bus. The most useful city bus for visitors is the yellow bus No. 2, which plies a route from the No. 2 bus terminal, south along Suphakit Janya road and then east along Pho Si road past the Charoen Hotel. The No. 6 bus runs between the No. 2 bus terminal and Rangsina Market, while bus No. 23 runs between bus terminals Nos. 1 and 2. The fare for all city buses is 4 baht.



By Car

The car rental places opposite the Udon Hotel offers sedan, jeeps and vans for hire starting at around 1,200 baht.



By Sam lor

Sam lors drivers in Udon Thani practically doubled their rates overnight when 50 Americans arrived to work on the VOA station outside the town in 1990-91, apparently the engineers were throwing their dollars around with abandon. With a permanent contingent of VOA employees in the area, just about any farang (foreigner) who happens to pass through Udon Thani will have to deal with this two tier price system. Reasonable fares are 10 baht to 15 bahts per kilometer.

Phu Phra Bat Historical Park .


Situated in Ban Phue District, this archaeological site features a large number of ancient buildings and ancient objects of both prehistoric and historic times. They are mostly of Dvaravati, Lop Buri, and Lanchang style.

The site is located in a thriving forest called Pa Khua Nam. In addition, within the site are many rocks of peculiar shapes which resulted from glacial movement millions of years ago. It can be seen that most of the ancient buildings and objects found in this area were modified from what was naturally available and not built entirely by human beings. For instance, a rock was decorated to make a stupa or was chiseled into the shape of a foot.

The site was declared a historical park by the Fine Arts Department in 1991. Archeological evidence found at the site includes Phra Phuttabat Bua Bok, Phra Phuttabat Lang Tao, Phra Phutta Bat Bua Ban, religious buildings modified from rocks, sandstone bai-sema (leaf-shaped stones marking the limits of a Buddhist temple), sandstone images and idols, cave paintings and stone axes.

Phu Phra Bat Historical Park covers the entire area of the Phra Phutthabat Bua Bok which is around 1,200 acres. In addition to the beautiful landscape, caves and caverns, rocks of different sizes and shapes dot the area. Moreover, pre-historic paintings over cliff faces have been discovered, although many leave only the faintest of traces.

Visitors are recommended to explore Tham Non Sao Ae, Tham Woa Daeng, Tham Chang, and Tham Sung to see the paintings that depict the livelihood of pre-historical community which can be traced back to approximately 2,500-3,000 years ago.

The sandstone bai-sema, sandstone images and idols of Dvaravati era are also discovered at Poeng Hin Po Ta Luk Koei.

Admission fee is 100 baht.

Chao Pu - Chao Ya Chinese Spirit Shrine


This large and beautiful Chinese spirit shrine is located on Nittayo Road behind the train station near Nong Bua Market. Here, there is a small garden beside a lotus pond. Two Chinese pavilions stand in the pond, serving as a view point in pleasant and shady surroundings. The golden dragon of 99 m long, to be used during the Thung Si Mueang annual fair in December, is also kept here

วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2552

Ban Chiang Archaeological Site



This archaeological site is considered to be cultural property of outstanding universal value and was nominated as a World Heritage Site in December 1992. The Site is located at Ban Chiang, Amphoe Nong Han, 55 kilometers from the province on Highway No. 22 (Udon Thani-Sakon Nakon). Turn left at the 50-km marker to Highway No. 2225 and proceed for 6 kilometers.

Ban Chiang National Museum located at Ban Chiang, Tambon Ban Chiang, Amphoe Nong Han, is comprised of two parts. The first part stores antiques. Inside the building, old artifacts, ancient Ban Chiang culture, tools and utensils that showcase ancient technology and surroundings, as well as earthenware pots from 4,000 to 7,500 years old, are displayed. The second part is an open museum in the compound of Wat Po Si Nai. The Fine Arts Department has retained the conditions of archaeological excavations to illustrate how earthenware pots and other items were buried along with the dead. Ban Chiang National Museum is considered the first open museum in Thailand. As for the Ban Chiang earthenware pots, they are known world-wide because Ban Chiang was the origin of a pre-historic civilization. Archaeologists believe the designs on Ban Chiang earthenware are the oldest pot designs in the world.

Traveling to Ban Chiang National Museum is very easy. It is only fifty-six kilometers from Muang District. The route runs along Highway 22 and turns left onto Highway 2225 at kilometer 50, where a road sign indicates the way to Ban Chiang which is six kilometers away.

The museum is open to the general public every day, except Mondays and Tuesdays, from 9 a.m. to 4 p.m.

with an admission fee of 150 baht. The museum has a parking area with toilets and village shops located nearby.

On the way to Ban Chiang, visitors can stop at several villages where handicrafts are made. Ban Kham O located along the Udon Thani-Sakon Nakhon Road is a Ban Chiang pottery sculpture center while Ban Pu Lu is a pottery-painting place

Ban Kham Chanot Wang Nakhin

Located in Ban Muang, Tambon Wang Thong, approximately 93 kilometres from Udon Thani's town is an area called Wang Nakhin (Naga Palace) a place believed and regarded by the locals as a mystical and holy place where the door to the underworld of Naga is located. Covering an area of over 20 rai of land, Wang Nakhin (locally dubbed as Dong Chanot) is nothing but an islet surrounded by water. It is teemed with dense palm trees called Chanot. Traveling to the place is easy by Udon Thani Sakon Nakhon route. At Ban Nong Mek, turn left and proceed approximately 84 kilometres to Ban Dung, and another 9 kilometres to Ban Kham Chanot.

วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2552

Udon -Nong Khai To Bang Fai Phaya Nak (Naga Fireball)


Bang Fai Phaya Nak (Naga Fireball)

This extraordinary miracle always occurs at the beginning of the full moon night in the eleventh lunar month (End of Buddhist Lent). It can be seen along the Mekong River in the districts of Mueang, Phon Phisai, Pak Khat, Bung Kan, Tha Bo, Si Chiang Mai and Sangkhom. Bang Fai Phaya Nak is a term used for red and pinkish fire balls, which according to belief, belong to Phaya Nak or the great serpent of the underwater world. On the day marking the End of Buddhist Lent, a great number of people come to witness this phenomenon.









Naga Fireball Festival in Nong Khai

It remains a mystery that never ceases to puzzle both visitors and locals alike. Just what is the origin and nature of the fireballs that fly from the surface of the Mekong River high into the night sky for all to seeω
Locals swear there is absolutely no doubt at all about the origin of the fireballs. Naga, the serpent reportedly dwelling in the murky currents of this mighty river, propels fireballs skyward, probably to remind villagers to treat this life-giving river with respect.
Of course, there are detractors, researchers who have spent years of study attempting to explain away the fireball phenomenon, all to no avail.

Some say it is an elaborate hoax, but the only way to find out is to travel to Nong Khai and check out river scene and the carnivals that villagers organise to celebrate the now famous legendary serpent.
Festivities run from 10 to 16 October, along the Mekong River bank, in Phon Pisai district in Nong Khai province. There are also corresponding celebrations on the Lao side of the river and no shortage of theories on whether Thailand’s neighbours, on the opposite bank, may know more than they are admitting on what causes the spectacle.

But there is no denying the fact that there is something almost mystical that causes the fireballs to erupt from the surface of the river, and villagers are taking no chances, hence the religious activities at various temples in the district to appease the Naga.
Visitors can participate in a traditional "Tak Bat Thevo" ceremony, or the early morning alms giving to monks. It involves offering sticky rice wrapped in coconut leaves, presented on the important final days of the three-month Buddhist Lent.
In the evenings, during the festival week, people gather at the river bank for the Naga procession and cultural performance that reflect the rural village traditions of the northeast region.

If all goes to plan the highlight of the trip will be the amazing sight of the Naga fireballs erupting into the sky, a phenomenon that is very likely to prompt some light hearted banter and arguments at riverside food stalls over glasses of ale or the local rice whisky on their origin.

The most convenient way to reach Nong Khai is to take one of the many daily flights offered from Bangkok to Udon Thani, either on the national airline Thai Airways International, or one of the low-cost airlines. The flight takes 50 minutes and from Udon Thani, mini buses offer a 40 minute transfer to Nong Khai. An alternative is to take the rail service that runs every evening from Bangkok to Nong Khai.

Who stop the rain.